ออนไลน์ : 5
สภาพทั่วไปของตำบลเมืองทอง
สภาพทั่วไป
1.1 อาณาเขตติดต่อกับท้องถิ่นอื่น ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกล่าม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดสมบูรณ์ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกล่าม อำเภอจตุรพักตรพิมาน และตำบลหนองแวงควง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูง ประชากรจะประกอบอาชีพทำนา โดยอาศัยน้ำฝน การรวมตัวของประชากรจะอาศัยอยู่รวมกันในระบบเครือญาติเป็นหมู่บ้าน
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทองเป็นที่ราบสูง พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ส่วนมากพื้นที่จะเป็นดินทราย เกิดปัญหาเรื่องความแห้งแล้งช่วงฤดูทำนา มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 11,689 ไร่ อุณหภูมิทั่วไปร้อนจัด แห้งแล้งในฤดูร้อนและมีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ในช่วง 26.88 องศาเซลเซียส ถึง 27.88 มีอุณหภูมิต่ำสุด 10.1 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิสูงสุด 41.2 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายนปริมาณน้ำฝน อยู่ระหว่าง 1,156.2 มม.ถึง 1,515.2 มม. ปริมาณน้ำฝนสูงสุด 316.9 มม. ในเดือนสิงหาคม
1.4 ลักษณะของดิน
ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนดินทราย
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งน้ำตำบลเมืองทอง มีแหล่งน้ำผิวดินซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ประมาณ 40.5 ไร่ โดยมีแหล่งห้วยเขินเป็นธารน้ำขนาดเล็กที่น้ำเฉพาะในฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนวัดได้โดยเฉลี่ย 152.5 มิลลิเมตร ฝนจะตกมากที่สุดเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม และได้ฝายน้ำล้นไว้เพื่อเก็บกักน้ำเป็นตอนซึ่งห้วยดังกล่าวไหลผ่านหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีหนองน้ำสาธารณะที่สำคัญในตำบลเมืองทอง มีดังนี้
ที่ |
ชื่อแหล่งน้ำ | หมู่ที่ | พื้นที่ (ไร่) | ความลึกเฉลี่ย (เมตร) |
การใช้ประโยชน์ |
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 |
หนองแก
หนองขุมดิน หนองยักพา หนองเมือง หนองอุ่ม หนองหมากแซว หนองสิม หนองแข้ หนองแวง หนองผือ หนองพาดเสื้อ หนองหัวเสือ |
1 3 2 2 4 5 6 7 7 8 9 9 |
18-0-0 10-2-71 5-2-14 12-0-19 9-0-0 9-0-0 1-0-0 2-3-94 2-3-55 2-0-0 10-0-34 1-2-47 |
2 2 3 2 3 2 2 2 3 3 3 3 |
ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา ทำนา,เลี้ยงปลา |
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทอง มีพื้นที่ทรัพยากรป่าไม้จะเป็นที่สาธารณะประโยชน์ประมาณ 63.75 ไร่ เนื่องจากสภาพของป่าไม้ได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก เหลือไม่ถึงร้อยละ 50 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด
2. ด้านการเมืองการปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
ตำบลเมืองทอง มีจำนวน 10 หมู่บ้าน
2.2 การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 10 หมู่บ้าน หากมีการเลือกตั้งในครั้งหน้า จะมี ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 2 คน 10 หมู่บ้าน รวมเป็น 20 คน
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนคน | รวม | ผู้สูง
อายุ |
คนพิการ | ผู้ติดเอดส์ | เด็กกำพร้า | |
ชาย |
หญิง |
||||||||
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 |
บ้านเมืองทอง
บ้านเมืองทอง บ้านเมืองทอง บ้านหนองอุ่ม บ้านสงเปลือย บ้านโนนสำราญ บ้านหนองพาดเสื้อ บ้านอุ่มเม้า บ้านหนองพาดเสื้อ บ้านเมืองทอง |
238 166 126 71 248 112 89 193 77 175 |
395 278 175 109 423 251 147 301 116 251 |
409 290 182 114 390 251 146 311 138 275 |
804 568 357 223 813 5028 293 6123 254 526 |
101 84 52 41 88 60 35 98 26 72 |
22 17 7 6 22 2 3 6 2 2 |
3 – 1 1 – – – 2 2 1 |
– – – – – – – – – – |
รวมทั้งหมด |
1,495 |
2,446 |
2,506 |
4,952 |
657 |
89 |
9 |
– |
หมายเหตุ : ข้อมูลประชากร ณ เดือน เมษายน 2559
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน 35 – 55 ปี
4.สภาพทางสังคม
4.1. การศึกษา
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลเมืองทอง จำนวน ผู้ดูแลเด็กเล็ก 6 คน เด็กเล็ก 58 คน
– ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 11 แห่ง
– ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน จำนวน 1 แห่ง
– โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง
– โรงเรียนขยายโอกาสมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 แห่ง
ชื่อโรงเรียน |
จำนวนนักเรียน |
|||||||
อนุบาล |
ป.1 | ป.2 | ป.3 | ป.4 | ป.5 | ป.6 |
รวม |
|
โรงเรียนบ้านเมืองทอง
โรงเรียนบ้านสงเปลือย
โรงเรียนวัดโนนสำราญ
|
34 |
19 |
19 |
20 |
19 |
17 |
17 |
145 |
6 |
6 |
6 |
6 |
6 |
8 |
8 |
46 |
|
13 |
9 |
9 |
9 |
9 |
10 |
10 |
69 |
|
รวม |
53 |
34 |
34 |
35 |
34 |
35 |
35 |
260 |
ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2558
4.2 สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเมืององ จำนวน ๑ แห่ง
4.3 อาชญากรรม
–
4.4 ยาเสพติด
–
4.5 การสังคมสงเคราะห์
– กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลเมืองทอง จำนวน 1 กองทุน
– กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ จำนวน 1 กองทุน
– เบี้ยยังชีพเด็กกำพร้า จำนวน – คน
– เบี้ยยังชีพผู้ป่วยโรคเอดส์ จำนวน 10 คน
– เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 657 คน
– เบี้ยยังชีพผู้พิการ จำนวน 89 คน
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
สภาพเส้นทางคมนาคมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทอง สามารถแบ่งโดยสภาพได้ดังนี้
ประเภทถนน
การคมนาคมระหว่าง อบต.เมืองทอง กับตำบลต่างๆ
– อบต.เมืองทอง ไปตำบลสะอาดสมบูรณ์ ระยะทาง 5 กิโลเมตร
– อบต.เมืองทอง ไปตำบลนาโพธิ์ ระยะทาง 2 กิโลเมตร
– อบต.เมืองทอง ไปตำบลโคกล่าม ระยะทาง 10 กิโลเมตร
การคมนาคมระหว่าง อบต.เมืองทอง กับหมู่บ้านต่างๆ
ถนนลาดยาง 3 สาย ได้แก่
– อบต.เมืองทอง ไปบ้านโนนสำราญ-บ้านหนองพาดเสื้อ-บ้านอุ้มเม้า ระยะทาง 3 กิโลเมตร
– อบต.เมืองทอง ไปบ้านหนองอุ้ม หมู่ 4 ระยะทาง 2 กิโลเมตร
– อบต.เมืองทอง ไปบ้านสงเปลือย หมู่ 5 ระยะทาง 2 กิโลเมตร
ถนนลูกรัง 4 สาย ได้แก่
– บ้านเมืองทอง หมู่ 10 ไปบ้านสงเปลือย หมู่ 5 ระยะทาง 1 กิโลเมตร
– บ้านโนนสำราญ หมู่ 6 ไปบ้านสงเปลือย หมู่ 5 ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
– บ้านเมืองทอง หมู่ 1 ไปสุดเขตตำบลเมืองทอง ระยะทาง 1.7 กิโลเมตร
– ภายในบ้านเมืองทอง หมู่ 3 ชื่อถนนทศภานนท์ ระยะทาง 1 กิโลเมตร
5.2 การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน แต่การขยายเขตไฟฟ้ายังมีความต้องการมีความจำเป็นอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากมีการขยายครัวเรือนเพราะประชากรมีอัตราการเกิดเพิ่มขึ้นทุกปี และเพื่อการเกษตร
5.3 การประปา
มีระบบประปาใช้ครบทุกหมู่บ้าน
5.4 โทรศัพท์
มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
6.ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ราษฎรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทอง ประกอบอาชีพหลัก คือ การทำการเกษตร โดยเฉพาะอาชีพทำนา ควบคู่ไปกับอาชีพรับจ้างทั่วไป อาชีพค้าขาย รายละเอียดการประกอบอาชีพของราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทอง จำแนกตามครัวเรือนทั้งตำบลมีดังต่อไปนี้
ก. ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเพียงอย่างเดียวมีประมาณร้อยละ 55.34 ของจำนวนครัวเรือนทั้งตำบล โดยแบ่งออกเป็น
1. อาชีพรับจ้างทั่วไป มีประมาณร้อยละ 73.78 ได้แก่
1.1 งานรับจ้างทั่วไป
1.2 งานบริการ (เช่นรับใช้ในบ้าน ขับรถรับจ้าง ทำงานโรงงาน เป็นต้น)
1.3 งานช่างฝีมือ (เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ช่างซ่อมรถยนต์-จักรยานยนต์ เป็นต้น)
2. อาชีพค้าขาย มีประมาณร้อยละ 36.78
3. อาชีพรับราชการ มีประมาณร้อยละ 7.76
ข. ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพขึ้นไปมีประมาณร้อยละ 96.84 ของจำนวนครัวเรือนทั้งตำบล โดยแบ่งออกเป็น
1. รับจ้างและเกษตรกรรม มีประมาณร้อยละ 92.23
2. เกษตรกรรมและประกอบอุตสาหกรรม มีประมาณร้อยละ 9.22
6.2 แรงงาน
– แรงงานของครัวเรือนเกษตรกรโดยเฉลี่ย 2 คน/ครัวเรือน
– ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำวันละ 232 บาท/วัน/คน โดยมีคนจ้างแรงงานในหมู่บ้านหรือตำบล
– แรงงานส่วนใหญ่ของตำบลจะอยู่ในช่วงอายุ 18-50 ปี และจะมีการอพยพแรงงานไปต่างจังหวัด ทำให้แรงงานภายในหมู่บ้านและตำบลขาดแรงงานทำให้การจ้างแรงงานมีราคาที่สูงมาก
– แรงงานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทองพบว่าร้อยละ 25 เป็นแรงงานที่ออกไปทำงานนอกเขตจังหวัดในฤดูแล้ง ช่วงเดือนมกราคม
7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน
ตำบลเมืองทองมีหมู่บ้านในความปกครอง 10 หมู่บ้าน ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ มีจำนวนประชากร จำนวน 4,952 คน เป็นชาย 2,446 คน หญิง 2,506 คน จำนวน 1,495 ครัวเรือน
7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่มันสำปะหลัง ไร้อ้อย ยางพาราและรับจ้าง
7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
แหล่งน้ำธรรมชาติ
– ลำห้วย, ลำคลอง หนองน้ำและอื่นๆ จำนวน 12 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
– ฝาย จำนวน 3 แห่ง
– หนองน้ำ จำนวน 34 แห่ง
– บ่อบาดาล จำนวน 100 แห่ง
– ประปา จำนวน 12 แห่ง
7.4 ข้อมูลด้านน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
มีระบบประปาบาดาลหมู่บ้าน ใช้ครบทุกหมู่บ้าน
8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
– วัด จำนวน 6 แห่ง จำนวนประชากรที่นับถือศาสนาพุทธ มีจำนวน 4,952 คน
– งานประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีสงน้ำหลวงปูหลักคำวัดโนนสูง ประเพณีลอยกระทง ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประเพณีบุญผะเหวด ประเพณีบุญคูณลานข้าว
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
– ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ จะจัดทำขั้นตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตร และตอนกลางคืนอาจจะมีการจัดเลี้ยงสังสรรค์กันตามคุ้มต่างๆ
– ประเพณีทอดผ้าป่า จะมีการบริจาคผ้าตามบ้านต่างๆ แล้วนำมาประดับเป็นดอกผ้าแล้วจะนำไปทำบุญที่วัด
– ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีที่สำคัญมาก จะมีการแห่พระพุทธรูปพระสงฆ์ให้นั่งรถแล้วแห่รอบหมู่บ้าน และให้ประชาชนได้สรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ และชาวบ้านร่วมเดินไปในขบวนด้วย จะรดน้ำดำหัวไปจนรอบหมู่บ้าน จะมีทั้งเด็ก หนุ่มสาว และผู้เฒ่า ผู้แก่ ซึ่งเป็นประเพณีที่สนุกสนาน
– ประเพณีวันออกพรรษา เป็นพระเพณีที่มีความสำคัญทางศาสนา ในตอนเช้าจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัด เรียกการตักบาตรนี้ว่า ตักบาตรเทโว ชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่ลานวัดเพื่อรอใส่บาตร
9. ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ
– ลำห้วย, ลำคลอง หนองน้ำและอื่นๆ จำนวน 12 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
– ฝาย จำนวน 3 แห่ง
– หนองน้ำ จำนวน 34 แห่ง
– บ่อบาดาล จำนวน 100 แห่ง
– ประปา จำนวน 12 แห่ง
9.2 ป่าไม้
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทอง มีพื้นที่ทรัพยากรป่าไม้จะเป็นที่สาธารณะประโยชน์ประมาณ 63.75 ไร่ เนื่องจากสภาพของป่าไม้ได้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก เหลือไม่ถึงร้อยละ 50 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด